แบบทดสอบ
สังคม ภาคเรียนที่ 2/2558
ประถมศึกษาปีที่ 6
- พระราธะ มีความเป็นเลิศในด้านใด
- ด้านความกตัญญู
- ด้านการมีอุเบกขาสูง
- ด้านความเพียรพยายาม
- ด้านการมีปฏิภาณไหวพริบเป็นอย่างดี
- พระภิกษุรูปใดเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้แก่พระราธะ
- พระสุภัททะ
- พระสารีบุตร
- พระโมคคัลลานะ
- พระอัญญาโกณฑัญญะ
- ลักษณะเด่นของพระราธะ ที่นักเรียนควรนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตประจำวันคือข้อใด
- ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน
- ความเพียรพยายาม
- ความว่านอนสอนง่าย
- ความอ่อนน้อมถ่อมตน
- ชาดกเรื่องใดที่ได้ข้อคิดจากการมีสติ และเชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อแม่
- กุฎิทูสกชาดก
- จูฬเสฏฐิชาดก
- สัพพทาฐิชาดก
- ฑีฆีโกสลชาดก
- สรีดภงค์ ในสมัยสุโขทัยหมายถึงข้อใด
- ค่าธรรมเนียมในการผ่านด่านสมัยสุโขทัย
- ยุทธวิธีในการโจมตีข้าศึกเพื่อขยายอาณาจักรสุโขทัย
- ทำนบกักน้ำสำหรับใช้ในการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภค
- ระบอบการปกครองอาณาจักรสุโขทัยของพ่อขุนรามคำ แหงมหาราช
- ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างไร
- มีอายุเก่าแก่มากกว่า 100 ปี
- มีรูปแบบการจารึกที่เป็นเอกลักษณ์ของสุโขทัย
- เป็นการบันทึกวิถีชีวิตและเรื่องราวต่าง ๆ ใน สมัยสุโขทัย
- เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนในอาณาจักรสุโขทัย
- วรรณคดีเรื่องใดที่ ไม่ใช่ พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
- กาพย์เห่เรือ
- ลิลิตตะเลงพ่าย
- สรรพสิทธิ์คำฉันท์
- สมุทรโฆษคำฉันท์
- องค์การยูเนสโกประกาศยกย่องสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสด้านใด
- ด้านสังคม
- ด้านเศรษฐกิจ
- ด้านการศึกษา
- ด้านวัฒนธรรม
- ยถาวาที ตถาการี มีความหมายตรงกับข้อใด
- พูดเช่นไรทำเช่นนั้น
- คนจะได้เกียรติด้วยสัจจะ
- ปัญญาคือแสงสว่างในโลก
- เมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก
- การตั้งใจสวดมนต์จะเกิดผลดีอย่างไร
- จิตใจสงบ
- มีความจำดี
- ไม่นอนตื่นสาย
- เรียนหนังสือเก่ง
- ขณะกำลังเดินลงบันได ถ้าเรา ไม่มี สติสัมปชัญญะอาจเกิดผลในข้อใด
- ขาสั่นเวลาก้าวเดิน
- ลงบันไดช้ากว่าปกติ
- อาจเหยียบขั้นบันไดพลาด
- ไม่กล้าเดินลงบันไดคนเดียว
- การฝึกให้มีสมาธิในการฟัง อ่าน คิด ถามและเขียนเกิดประโยชน์แก่นักเรียนอย่างไร
- ทำให้ฉลาดทันเพื่อน
- เข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น
- ทำคะแนนสอบได้ดีกว่าเพื่อน
- เป็นที่รักของเพื่อนในชั้นเรียน
- อบายมุข 6 ข้อใดทำให้ร่างกายเสื่อมโทรม
- เล่นการพนัน
- เที่ยวดูการละเล่น
- คบคนชั่วเป็นมิตร
- ดื่มสุรา สารเสพติด
- สถานที่ใดอยู่ในเขตพุทธาวาส
- กุฏิ
- โบสถ์
- หอระฆัง
- ศาลาการเปรียญ
- ข้อใด ไม่ได้ เกี่ยวข้องกับเขตพุทธาวาส
- เป็นสิ่งปลูกสร้างประเภทปูชนียสถาน
- เป็นสถานที่พำนักของภิกษุและสามเณร
- เป็นสถานที่ประกอบสังฆกรรมทางศาสนา
- เป็นที่ตั้งของเจดีย์ วิหาร พระปรางค์ พระอุโบสถ
- ข้อใดเป็นการทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา
- ไปเป็นเพื่อนคุยกับสามเณรที่วัด
- ใช้วัดเป็นสถานที่พักผ่อนยามว่าง
- ใช้วิหารเป็นที่อ่านหนังสือเตรียมสอบ
- ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนา
- ก่อนเริ่มศาสนพิธีใด ๆ พุทธศาสนิกชนจะต้องทำสิ่งใดก่อน
- อาราธนาศีล
- อาราธนาธรรม
- บูชาพระรัตนตรัย
- อาราธนาพระปริตร
- พิธีทอดผ้าป่า แตกต่าง จากพิธีทอดกฐินอย่างไร
- สถานที่ประกอบพิธีกรรม
- จำนวนพระสงฆ์ที่เข้าร่วมพิธี
- ช่วงเวลาในการประกอบศาสนพิธี
- จำนวนผู้เข้าร่วมประกอบศาสนพิธี
- ในการอาราธนาพระสงฆ์มาทำบุญอัฐิ ควรนิมนต์พระสงฆ์โดยใช้คำว่าอะไร
- ขออาราธนาสวดมนต์
- ขออาราธนาเจริญน้ำมนต์
- ขออาราธนาสวดพระพุทธมนต์
- ขออาราธนาเจริญพระพุทธมนต์
- งานอวมงคล ไม่จำ เป็นต้องมีสิ่งใดประกอบพิธีกรรม
- ภูษาโยง
- ผ้าบังสุกุล
- ด้ายสายสิญจน์
- ภาชนะทำน้ำมนต์
- พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโอวาทปาติโมกข์ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันใด
- วันมาฆบูชา
- วันวิสาขบูชา
- วันอัฏฐมีบูชา
- วันอาสาฬหบูชา
- อริยสัจ 4 ข้อใดที่เป็นการปฏิบัตินำไปสู่ทางพ้นทุกข์
- ทุกข์
- นิโรธ
- มรรค
- สมุทัย
- ข้อใด ไม่ใช่ หลักปฏิบัติ 5 ประการ ในศาสนาอิสลาม
- การละหมาด
- การปฏิญาณตน
- การบริจาคซะกาต
- การบูชาพระอัลเลาะห์
- ข้อใดคือจุดมุ่งหมายสูงสุดในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู
- การไปสู่โมกษะ
- การไปสู่นิพพาน
- การไปสู่อาณาจักรพระเจ้า
- การไปแสวงบุญ ณ นครเมกกะ
- พิธีศีลกำลังทางศาสนาคริสต์มีจุดมุ่งหมายคล้ายกับพิธีใดทางพระพุทธศาสนา
- พิธีบรรพชา
- พิธีทอดกฐิน
- พิธีเข้าพรรษา
- พิธีพุทธมามกะ
- พิธีศราทธ์ในศาสนาฮินดู เป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับเรื่องใด
- การบูชาสังเวยเทพเจ้า
- การทำให้เป็นผู้บริสุทธิ์
- การปฏิบัติตามกฎของวรรณะ
- การทำบุญอุทิศให้กับบรรพบุรุษ
- ผู้ที่เข้าสังคมซิกข์ จะต้องทำพิธีกรรมใด
- พิธีสังคัต
- พิธีปาหุล
- พิธีสังสการ
- พิธีศีลกำลัง
- พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาที่มีจุดมุ่งหมายในการขัดเกลาจิตใจของเยาวชน คือข้อใด
- พิธีบรรพชา
- พิธีทอดกฐิน
- พิธีทอดผ้าป่า
- พิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่
- การบวงสรวงต่าง ๆ เป็นพิธีกรรมสำคัญของศาสนาใด
- ศาสนาคริสต์
- ศาสนาอิสลาม
- พระพุทธศาสนา
- ศาสนาพราหมณ์
- การละหมาดในศาสนาอิสลามต้องกระทำตามข้อใด
- วันละ 5 ครั้ง
- วันละ 5 เวลา
- เวลาละ 5 ครั้ง
- ตามศรัทธาไม่กำหนด
- เพราะเหตุใดวัฒนธรรมจึงเป็นมรดกของชาติ
- มีการเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่ง
- เป็นความคิดสร้างสรรค์
- มีการถ่ายทอดสืบต่อกันมา
- แสดงถึงความเจริญงอกงาม
- ข้อใดคือวัฒนธรรมด้านวัตถุ
- ศาสนา
- ประเพณีท้องถิ่น
- มารยาทในสังคม
- เครื่องมือ เครื่องใช้
- คำว่า “วัฒนธรรมเป็นมรดกแห่งสังคมมนุษย์” นักเรียนเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้หรือไม่
- ไม่เห็นด้วย เพราะวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่แสวงหาได้เช่นเดียวกับความรู้
- เห็นด้วย เพราะวัฒนธรรมสามารถทำให้มนุษย์ทำมาหากินได้อย่างสะดวกสบาย
- เห็นด้วย เพราะวัฒนธรรมเป็นแบบแผนของวิถี ชีวิตที่มีการถ่ายทอดสืบต่อกันมา
- ไม่เห็นด้วย เพราะวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สามารถคิดค้นใหม่อย่างเหมาะสมกับสังคม
- วัฒนธรรมมีคุณค่าต่อสังคม เพราะเหตุผลต่อไปนี้ ยกเว้น ข้อใด
- วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์
- วัฒนธรรมเป็นวิธีหรือมาตรการที่ใช้ควบคุมสังคม
- วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมมีความเจริญทางเทคโนโลยี
- วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบและวิธีการปฏิบัติของสถาบันสังคม
- วัฒนธรรมใดเป็นวัฒนธรรมที่คนไทยปฏิบัติเหมือนกันทั้งประเทศ
- การใช้ภาษาไทย
- การนับถือศาสนา
- การรับประทานอาหาร
- การเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนา
- ข้อใด ไม่ใช่ ผลที่เกิดจากการปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมท้องถิ่น
- สร้างความสามัคคี
- สร้างความเป็นระเบียบแบบแผน
- เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบของคน
- แสดงเอกลักษณ์ให้บุคคลอื่นได้ทราบ
- ข้อใดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม มากที่สุด
- สถานการณ์ของบ้านเมือง
- ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
- การแข่งขันทางการค้าของอารยประเทศ
- การเปลี่ยนแปลงของสังคมตามกาลเวลา
- การปฏิบัติตนตามข้อใดเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยของนักเรียนได้อย่างเหมาะสม
- ฝึกทำขนมไทยเพื่อนำไปจำหน่าย
- สะสมเครื่องดนตรีไทยทุกประเภท
- เข้าร่วมกิจกรรมชมรมเรารักษ์เมืองไทย
- สนับสนุนสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย
- คำว่า “มารยาท” เกี่ยวข้องกับเรื่องใด มากที่สุด
- ชาติตระกูล
- หน้าที่การงาน
- ความประพฤติ
- ฐานะทางสังคม
- ใครปฏิบัติ ไม่ ถูกต้องตามมารยาทไทย
- น้ำส่งยิ้มทักทายเพื่อน
- อ้อยรับประทานอาหารทุกชนิดที่วางอยู่บนโต๊ะ
- กอล์ฟปัดเส้นผมที่ติดเสื้อให้เพื่อนแล้วจึงกล่าวคำขอโทษ
- กายไหว้พระโดยประนมมือให้ปลายนิ้วชี้จรดส่วนบน ของหน้าฝาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น