ประวัติศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
- อาณาจักรที่เป็นแหล่งชุมชนโบราณตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำท่าจีน มีร่องรอยของการนับถือพระพุทธศาสนา อาณาจักรนี้ถือเป็นแคล้นที่พัฒนาสืบเนื่องมาหลายร้อยปี มีความเข้มแข็ง หมายถึงอาณาจักรใด
- สุพรรณภูมิ
- ละโว้
- สุโขทัย
- ทวารวดี
- พระปรางค์สามยอด สถาปัตยกรรมขอม หลักฐานทางด้านโบราณคดีดังกล่าวนี้อยู่ในจังหวัดใด
- สุโขทัย
- สุพรรณบุรี
- ลพบุรี
- เชียงใหม่
- แม้พระราชประวัติของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 จะเป็นเพียงข้อสันนิษฐานที่ยังไม่สามารถสรุปได้ตามวิธีการทางประวัติศาสตร์ แต่นักประวัติศาสตร์โดยทั่วไปยอมรับว่าพระองค์ทรงเป็นผู้สถาปนาราชอาณาจักรใด
- สุพรรณภูมิ
- ละโว้
- ทวารวดี
- อยุธยา
- ที่ตั้งของอาณาจักรอยุธยามีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำสำคัญสามสายไหลผ่านมาบรรจบกันล้อมรอบราชธานี แม่น้ำใด มิใช่ แม่น้ำที่ไหลผ่านอาณาจักรอยุธยา
- แม่น้ำลพบุรี
- แม่น้ำป่าสัก
- แม่น้ำเจ้าพระยา
- แม่น้ำท่าจีน
- ปัจจัยที่มีผลต่อความรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยา มีมากมายหลายประการ ยกเว้น ข้อใด
- อิทธิพลของอารยธรรมโบราณมาปรับให้เข้ากับอารยธรรมใหม่ของอยุธยา
- อิทธิพลของมรสุมสองด้านทาง
ตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกเฉียงใต้ - อิทธิพลของชาติตะวันตกอันเอื้อต่อการค้า
การเมือง และความเข้มแข็งของกองทัพ - อิทธิพลแห่งพระปรีชาสามารถขอพระมหากษัตริย์
เมื่อต้องเผชิญกับภัยคุกคามภายนอก
- พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา ทรงมีคุณลักษณะเหนือปุถุชนทั้งปวง ทรงเป็นสมมติเทพ มีความเป็นธรรมราชาตามคติความเชื่อเหมือนกับการปกครองสมัยใด
- ละโว้
- ทวารวดี
- สุโขทัย
- สุพรรณภูมิ
- การบริหารแผนดินที่กำหนดให้มีเมืองหน้าด่าน 4 ทิศ ประกอบไปด้วย ทิศเหนือ คือ ลพบุรี ทิศตะวันออก คือนครนายก ทิศตะวันตก คือ สุพรรณบุรี ทิศใต้ คือ พระ-ประแดง เมืองหน้าด่านดังกล่าวนี้ดำเนินการในรัชสมัยใด
- สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
- สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
- สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
- สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
- เสาหลักของการปกครองหรือจตุสดมภ์ มี 4 หน่วยงาน หน่วยงานใดดูแลความสงบสุขบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ปราบปรามโจรผู้ร้าย ลงโทษผู้กระทำผิดในแผ่นดิน
- กรมเวียง
- กรมวัง
- กรมคลัง
- กรมนา
- การแบ่งหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินควบคู่กำลังคนออกเป็นฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ข้อใดอธิบายได้ถูกต้อง
- สมุหพระกลาโหมบังคับบัญชาพลเรือน สมหนายก
บังคับบัญชากิจการทหาร - สมุหพระกลาโหมบังคับบัญชาหัวเมืองใต้ สมุหนายก
บังคับบัญชาหัวเมืองเหนือ - สมุหพระกลาโหมบังคับบัญชากิจการฝ่ายทหารทั่ว
ราชอาณาจักร สมุหนายกบังคับบัญชาจตุสดมภ์ - สมุหพระกลาโหมบังคับบัญชาทหารหัวเมือง
ตะวันออก สมุหนายกบังคับบัญชาพลเรือนหัวเมืองเหนือ
- สมุหพระกลาโหมบังคับบัญชาพลเรือน สมหนายก
- การบริหารราชการแผ่นดินส่วนหัวเมืองในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ มีทั้งการกระจายอำนาถและรวมอำนาจ ตำแหน่งใดเป็นตำแหน่งทางกายภาพที่รวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง
- เจ้าเมืองหน้าด่านมีอิสระในการปกครองบริหารกอง
กำลังพลเรือนและทหาร - ผู้รั้งเมืองกับคณะกรมการเมืองดูแลเมืองจัตวา ขึ้นตรง
กับเสนาบดีแห่งราชธานี - พระยามหานครจัดการเมืองชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี
มีอำนาจบังคับบัญชาหัวเมืองชั้นนอก - หัวหน้างานท้องที่ภายในหัวเมือง ได้แก่ จ่าบ้าน
กำนัน เจ้าเมือง ในเขตเมืองเอก เมืองโท
- เจ้าเมืองหน้าด่านมีอิสระในการปกครองบริหารกอง
- รายได้ของแผนดินที่เกิดจากการขนส่งสินค้าผ่านเขตแดนต่าง ๆ เก็บเป็นเงินหรือชักส่วนจากสินค้า เก็บจากขนาดของยานพาหนะ ปัจจุบันเรียกว่าภาษีศุลกากร รายได้ประเภทนี้สมัยอยุธยาเรียกว่าอะไร
- จังกอบ
- อากร
- ส่วย
- ฤชา
- สมัยอยุธยาตอนปลาย การบังคับบัญชาโดยตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและเสนาบดีได้มีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิม สมุหพระกลาโหมทำหน้าที่บังคับบัญชาทหารและพลเรือนในหัวเมืองใต้และสมุหนายกบังคับบัญชาทหารและพลเรือนหัวเมืองเหนือ ส่วนเสนาบดีกรมพระคลังบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายทะเลตะวันออก การปรับเปลี่ยนการบังคับบัญชาดังกล่าวเกิดขึ้นในรัชสมัยใด
- สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
- สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
- สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
- สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
- คำอธิบายในข้อใด มิใช่ ความมายของศักดินา
- เครื่องกำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลในสังคม
- สิทธิในการถือครองที่ดินทำกิน เพราะ นา คือ
เครื่องมือยังชีพ - อำนวยประโยชน์ในการควบคุมบังคับบัญชา
หลักเกณฑ์การลงโทษตามคดีความ - บ่งบอกถึงการแบ่งชนชั้นทางสังคม กรรมสิทธิ์บนที่ดินของบุคคลและครอบครัว
- ไพร่หมายถึงราษฎรทั้งหลายที่ถูกเกณฑ์แรงงานให้ทางการทั้งยามปกติและสงคราม ไพร่ที่สังกัดตามกรมกองขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ หากแต่ส่งเงินและสิ่งของแทนการเกณฑ์แรงงานเพราะต้องการทำกินให้ครอบครัว ไพร่ดังกล่าวคือไพร่ประเภทใด
- ไพร่หลวง
- ไพร่ส่วย
- ไพร่สม
- ไพร่หัวงาน
- ข้อใดคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทาสในสังคมสมัยอยุธยา
- ทาสมีศักดินา 4 ไร่ ถือเป็นบุคคลที่มีฐานะด้อยกว่า
ไพร่และขุนนาง - สังคมอยุธยาเคลื่อนไหวไม่คงที่ ทาสสามารถเลื่อน
ฐานะเป็นไพร่เมื่อได้ไถ่ตัว - ทาสไม่มีโอกาสเปลี่ยนแปลงสถานภาพของตน
ลูกหลานสืบต่อมาก็ต้องเป็นทาส - บุคคลที่มิได้มีสิทธิในแรงงานและชีวิตของตนเอง
แต่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของนายเงิน
- ทาสมีศักดินา 4 ไร่ ถือเป็นบุคคลที่มีฐานะด้อยกว่า
- วรรณกรรมเรื่องใดในสมัยอยุธยาที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา
- จินดามณี
- ลิลิตพระลอ
- ไตรภูมิพระร่วง
- พระมาลัยคำหลวง
- เมืองเชียงกราน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเมย อำเภอท่าสองยาง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองของมอญ เป็นเมืองขึ้นของไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงอยุธยา เมืองเชียงกรานมีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมทางประวัติศาสตร์เรื่องใด
- การทำสงครามระหว่างมอญกับอยุธยาปลายสุโขทัย
- สมเด็จพระชัยราชาธิราช ส่งกองทัพขับไข่พม่าเพื่อ
ช่วยมอญ - การทำสงครามขับไข่พม่าสมัยสุโขทัยรัชสมัยพ่อขุน
รามคำแหง - สมเด็จพระนเรศวรมหาราชรวบรวมผู้คนที่เป็นเชลย
ในพม่าเดินทางเข้าอยุธยา
- การทำสงครามระหว่างอาณาจักรอยุธยากับพม่าตั้งแต่ พ. ศ. 2081 จนถึง พ. ศ. 2310 มีผลทำให้ไทยเสียอิสรภาพถึง 2 ครั้ง ผลของการเสียกรุงทั้งสองครั้งนี้สร้างความตระหนักให้คนในปัจจุบันต้องสำนึกถึงความสำคัญในเรื่องใดมากที่สุด
- ความรับผิดชอบ
- ความรู้ในเรื่องสู้รบ
- ความสมานสามัคคี
- ความเข้มแข็งของกองทัพ
- ชาติตะวันตกที่เข้ามาค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาเป็นชาติแรกและเข้ามาตั้งสถานีค้าขายที่กรุงศรีอยุธยา นครศรีธรรมราช ปัตตานี มะริด ตะนาวศรี คือชาติใด
- ฮอลันดา
- โปรตุเกส
- อังกฤษ
- ฝรั่งเศส
- ธรรมเนียมการแต่งตั้งทูตจากกรุงศรีอยุธยาไปถวายเครื่องราชบรรณาการ เพื่อให้เกิดความชอบธรรมในการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์และได้ประโยชน์ทางด้านการค้าเป็นการสร้างสัมพันธไมตรีกับประเทศใด
- มลายู
- ขอม
- จีน
- อินเดีย
- แม่น้ำในข้อใดที่ล้อมรอบกรุงศรีอยุธยาทั้งหมด
- แม่น้ำจ้าพระยา แม่น้ำยม แม่น้ำชี
- แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำปิง แม่น้ำน่าน
- แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำน่าน
- แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา
- แนวคิดเรื่อง สมมติเทพ ในสมัยอยุธยาได้รับอิทธิพลมาจากที่ใด
- พม่า
- กรีก
- อินเดีย
- ขอม
- ในสมัยอยุธยาอำนาจสูงสุดในการปกครองบ้านเมืองเป็นของผู้ใด
- สมุหนายก
- พระมหากษัตริย์
- เสนาบดี
- จตุสดมภ์
- การปฏิรูปการปกครองในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเกิดขึ้นเพราะเหตุใด
- ขาดบุคลากรในการบริหาร
- เกิดสงครามสู้รบบ่อยครั้ง
- บ้านเมืองกว้างใหญ่ดูแลไม่ทั่วถึง
- ได้รับความคิดมาจากอาณาจักรใกล้เคียง
- ลักษณะการเมืองการปกครองที่เป็นเอกลักษณ์ในสมัยอยุธยาตรงกับข้อใด
- ประชาธิปไตย
- พ่อปกครองลูก
- เทวราชา
- จตุสดมภ์
- ปัจจัยสำคัญในข้อใดที่มีผลต่อลักษณะทางเศรษฐกิจของอยุธยามากที่สุด
- ทำเลที่ตั้ง
- ทหารมีกำลังเข้มแข็ง
- ประชาชนมีจำนวนมาก
- ขนาดพื้นที่ของอาณาจักร
- เพราะเหตุใดในสมัยอยุธยาจึงมีการประกอบอาชีพการเกษตรมากกว่าอาชีพอื่น ๆ
- มีกฎหมายบังคับ
- ทำมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
- เป็นอาชีพที่มีรายได้สูง
- ที่ตั้งและธรรมชาติเอื้ออำนวย
- ในสมัยอยุธยาถ้านายกองเกวียนสินค้าเข้ามาขายสินค้าในราชธานี เมื่อลำเลียงสินค้าผ่านด่านขนอนจะต้องเสียภาษีใด
- ส่วย
- อากร
- จังกอบ
- ฤชา
- ข้อใด ไม่ใช่ องค์ประกอบของโครงสร้างทางสังคมไทยสมัยอยุธยา
- ไพร่
- ขุนนาง
- พระบรมวงศานุวงศ์
- ประชาชน
- ข้อใดเป็นปัจจัยที่ทำให้อยุธยากับมอญมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
- มีปัญหาภายในคล้ายกัน
- มีศัตรูที่ต้องสู้รบร่วมกัน
- ต่างต้องทำการค้าขายร่วมกัน
- หัวเมืองมอญเป็นเสมือนด่านหน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น